คอมพิวเตอร์หมายถึง
อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์(electronic device) ที่มนุษย์ใช่เป็นเครื่องมือในการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่างๆ โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้ (programmable) นั้นคือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน ทำให้สามาถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขว้ง เช่น ใช้ในการตรวจคลื่นความถี่ของหัวใจ การฝาก-ถอนเงินในธนาคาร การตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ เป็นต้น ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความถูกต้อง และรวดเร็ว
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ตัวเครื่องของคอมพิวเตอร์ที่เราเห็นๆกันอยู่นี้เป็นเพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ถ้าต้องการให้เครื่องสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่เราต้องการนั้นจำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ประการ มาทำงานประสานร่วมกัน ซึ่งองค์ประกอบพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงสร้างสามารมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วน
1. หน่วยรับคำสั่งหรือข้อมูล (Input Unit:IU)
ส่วนที่นำข้อมูลจากภายนอกเข้าสู้เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นตัวกลางเชื่อมโยงจากมนุษย์สู่เครื่องคอมพิวเตอร์ (เสมือนเป็นประสาทสัมผัสของคอมพิวเตอร์ ในการรับคำสั่งหรือข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลต่อไป) ตัวอย่างอุปกรณ์ เช่น เมาส์,คีย์บอร์ด,ไมค์,สแกนเนอร์, เครื่องอ่านรหัสบาร์โค้ด เป็นต้น
2.หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit:CPU)
หน่วยประมวลผลกลางเป็นศูนย์กลางการประมวลผลของทั้งระบบ เปรียบเสมือนกองบัญชาการหรือส่วนศรีษะของมนุษย์ ที่มีผู้บัญชาการ หรือสมองอยู่ภายใน ภายในหน่วยประมวลผลกลางนี้ จะเป็นการทำงานประสานกันระหว่าง 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนประมวลผล และส่วนความจำหลัก
3.หน่วยความจำ (Memory Unit)
ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งหรือข้อมูล ในระหว่างการประมวลผล หรือที่ได้จากการประมวลผล แบ่งได้หลักๆดังนี้
3.1หน่วยความจำหลัก (Main Memory) เป็นส่วนความจำพื้นฐานในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เป็นหัวใจของการทำงานในรูปแบบอัตโนมัติ มีหน้าที่เก็บข้อมูลต่างๆที่ป้อนเข้ามาเพื่อให้ส่วนประมวลผลนำไปใช้ และเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับคุณสมบัติและระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
3.2หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage) เป็นหน่วยความจำที่ใช้ในการเก็บชุดคำสั่งหรือข้อมูลไว้ เมื่อต้องการใช้งานหรือประมวลผลก็สามารถอ่านมาได้ มีราคาถูกกว่าหน่วยความจำหลัก เมื่อเทียบจากราคาต่อความจุ
4.หน่วยแสดงผล (Output Unit:OU)
ทำหน้าที่ในการแสดงผล สิ่งที่คอมพิวเตอร์ต้องการสื่อสารกับคน หรือเพื่อให้คนได้เข้าใจ
2. ซอฟต์แวร์ (Software)
หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังแป้นพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำสำรอง
2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่างๆตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุยันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่างๆ ออกมาจำหน่ายอย่างมากมาย
3.บุคลากร
บุคลากร คือ คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างาบรื่น อาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียวหรือหลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของหน่วยงานคอมพิวเตอร์
4.ข้อมูล (Data)
เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่ต้องป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์พร้อมกับโปรแกมที่นักคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นเพื่อผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอทพิวเตอร์ได้มี 5 ประเภท
- ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data)
-ข้อมูลตัวอักษร (Text Data)
-ข้อมูลเสียง (Audio Data)
-ข้อมูลภาพ (Images Data)
-ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data)
ชนิดของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์มีขนาดและความสามารถแตกต่างกันไป ด้านหนึ่งเป็น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มาก มีตัวประมวลผลที่เชื่อมโยงกันอยู่เป็นพันๆ ตัวที่รับหน้าที่ทำการคำนวณที่ซับซ้อนมาก ส่วนอีกด้านเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ฝังตัวอยู่ในรถยนต์ ทีวี ระบบสเตอริโอ เครื่องคิดเลข และเครื่องใช้ต่างๆ คอมพิวเตอร์เหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อทำงานแบบจำกัดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือ พีซี ได้รับการออกแบบให้ใช้ได้คราวละหนึ่งคน หัวข้อนี้จะอธิบายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชนิดต่างๆ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แล็ปท็อป คอมพิวเตอร์มือถือ และแท็บเล็ตพีซี
คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้บนโต๊ะ โดยทั่วไปจะมีขนาดใหญ่กว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชนิดอื่นๆ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะประกอบด้วยชิ้นส่วนที่แยกออกจากกัน ส่วนประกอบหลักที่เรียกว่า หน่วยระบบ มักจะเป็นเครื่องทรงสี่เหลี่ยมซึ่งวางอยู่บนหรือใต้โต๊ะ ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น จอภาพ เมาส์ และแป้นพิมพ์ จะเชื่อมต่อกับหน่วยระบบ
คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป
คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป เป็นพีซีแบบเคลื่อนที่ได้ มีน้ำหนักเบาและมีหน้าจอที่บาง หรือมักจะเรียกกันว่า คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เพราะมีขนาดเล็ก แล็ปท็อปสามารถทำงานโดยใช้แบตเตอรี ดังนั้นคุณจึงสามารถนำแล็ปท็อปไปได้ทุกที่ อย่างไรก็ตาม แล็ปท็อปจะไม่เหมือนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เนื่องจากจะรวม CPU หน้าจอ และแป้นพิมพ์ไว้อยู่ในตัวเครื่องเดียวกัน หน้าจอจะพับลงบนแป้นพิมพ์เมื่อไม่ได้ใช้งาน
คอมพิวเตอร์มือถือ
คอมพิวเตอร์มือถือ หรือที่เรียกว่า เครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล (PDA) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำงานด้วยแบตเตอรีและเล็กพอที่จะพกพาไปได้ทุกที่ แม้ว่าประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์มือถือจะไม่เท่ากับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือแล็ปท็อป แต่คอมพิวเตอร์มือถือก็มีประโยชน์สำหรับการกำหนดการนัดหมาย การเก็บที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ รวมถึงการเล่นเกมต่างๆ คอมพิวเตอร์มือถือบางเครื่องมีประสิทธิภาพสูงกว่านั้น เช่น สามารถใช้โทรศัพท์หรือใช้อินเทอร์เน็ตได้ แทนที่จะใช้แป้นพิมพ์ คอมพิวเตอร์มือถือมีหน้าจอสัมผัสที่คุณสามารถใช้โดยใช้นิ้วมือ หรือ สไตลัส (อุปกรณ์ชี้ที่มีรูปร่างเหมือนปากกา)
แท็บเล็ตพีซี
แท็บเล็ตพีซี คือพีซีเคลื่อนที่ที่รวมคุณลักษณะของแล็ปท็อปและคอมพิวเตอร์มือถือเข้าด้วยกัน แท็บเล็ตพีซีเหมือนกับแล็ปท็อป คือมีประสิทธิภาพมากและมีหน้าจอแบบในตัว แท็บเล็ตพีซีเหมือนกับคอมพิวเตอร์มือถือตรงที่อนุญาตให้คุณเขียนบันทึกหรือวาดภาพบนหน้าจอ โดยทั่วไปโดยใช้ ปากกาแท็บเล็ต แทนที่จะเป็นสไตลัส นอกจากนี้ยังสามารถแปลงลายมือของคุณให้เป็นข้อความแบบพิมพ์ได้ แท็บเล็ตพีซีบางเครื่องเป็นแบบ "พับ" โดยมีหน้าจอที่หมุนได้และเปิดออกเพื่อให้เห็นแป้นพิมพ์ที่อยู่ด้านล่างได้
การทำงานของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม จะมีลักษณะการทำงานของส่วนต่างๆ
ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นกระบวนการ โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานหลักคือ Input Process และ output ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังภาพ
เริ่มต้นด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถผ่านทางอุปกรณ์ชนิดต่างๆ แล้วแต่ชนิดของข้อมูลที่จะป้อนเข้าไป เช่น ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้แผงแป้นพิมพ์ (Keyboard) เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง ถ้าเป็นการเขียนภาพจะใช้เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิค (Graphics Tablet) โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพ หรือถ้าเป็นการเล่นเกมก็จะมีก้านควบคุม (Joystick) สำหรับเคลื่อนตำแหน่งของการเล่นบนจอภาพ เป็นต้น
เมื่อนำข้อมูลเข้ามาแล้ว เครื่องจะดำเนินการกับข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับมาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่
ต้องการ การประมวลผลอาจจะมีได้หลายอย่าง เช่น นำข้อมูลมาหาผลรวม นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม
นำข้อมูลมาหาค่ามากที่สุด หรือน้อยที่สุด เป็นต้น
เป็นการนำผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงให้ทราบทางอุปกรณ์ที่กำหนดไว้ โดยทั่วไปจะแสดงผ่านทางจอภาพ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า "จอมอนิเตอร์" (Monitor) หรือจะพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษโดยใช้เครื่องพิมพ์ก็ได้
การทำงานของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม จะมีลักษณะการทำงานของส่วนต่างๆ
ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นกระบวนการ โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานหลักคือ Input Process และ output ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังภาพ
ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นกระบวนการ โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานหลักคือ Input Process และ output ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังภาพ
เริ่มต้นด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถผ่านทางอุปกรณ์ชนิดต่างๆ แล้วแต่ชนิดของข้อมูลที่จะป้อนเข้าไป เช่น ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้แผงแป้นพิมพ์ (Keyboard) เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง ถ้าเป็นการเขียนภาพจะใช้เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิค (Graphics Tablet) โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพ หรือถ้าเป็นการเล่นเกมก็จะมีก้านควบคุม (Joystick) สำหรับเคลื่อนตำแหน่งของการเล่นบนจอภาพ เป็นต้น
เมื่อนำข้อมูลเข้ามาแล้ว เครื่องจะดำเนินการกับข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับมาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่
ต้องการ การประมวลผลอาจจะมีได้หลายอย่าง เช่น นำข้อมูลมาหาผลรวม นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม
นำข้อมูลมาหาค่ามากที่สุด หรือน้อยที่สุด เป็นต้น
ต้องการ การประมวลผลอาจจะมีได้หลายอย่าง เช่น นำข้อมูลมาหาผลรวม นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม
นำข้อมูลมาหาค่ามากที่สุด หรือน้อยที่สุด เป็นต้น
เป็นการนำผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงให้ทราบทางอุปกรณ์ที่กำหนดไว้ โดยทั่วไปจะแสดงผ่านทางจอภาพ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า "จอมอนิเตอร์" (Monitor) หรือจะพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษโดยใช้เครื่องพิมพ์ก็ได้
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
| ||
ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและเป็นยุคสารสนเทศ ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็สะดวกสบายไปเสียหมด จะติดตามข่าวสารต่างๆ ก็สะดวกสบายขึ้น การติดต่อสื่อสารก็ง่ายขึ้น ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ทุกอย่างนั้นสะดวกขึ้นเป็นอย่างมาก แม้กระทั่งการทำงานของเราก็ สะดวกขึ้น เพราะปัจจุบันนี้ ในการทำงานก็มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง ที่เห็นง่ายๆ เลย ก็คือ การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานเอกชนล้วนแล้วแต่นำคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานทั้งนั้น แล้วรู้กันหรือไหมว่า คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนั้นมีส่วนประกอบอะไรบ้าง และมีความสำคัญอย่างไร วันนี้เรามารู้จักกับคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่เราใช้งานกันอยู่ดีกว่า | ||
1. โปรเซสเซอร์ (Processor) นั่นก็คือหน่วยประผลกลางหรือที่รู้จักกันในนามของซีพียู (CPU) นั่นเอง หรือเรียกว่าซิป ซึ่งส่วนนี้มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะว่ามีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามา ซึ่งซีพียูนั้นมีรุ่นต่างๆ ออกมาวางขายตามท้องตลาดมากมาย ซึ่งแต่ละรุ่นก็ราคาแตกต่างกันออกไป
2. หน่วยความจำ (Memory) หรือ RAM นั่นเอง ซึ่ง RAM นั้นเป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็นในการเก็บข้อมูลต่างๆ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหน่วยความจำสำรองนั่นเอง ก็คือจะเก็บข้อมูลชั่วคราว ซึ่งหน่วยความจำแรมจะทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย 3. ส่วนอินพุต/เอาต์พุต (Input/Output) ก็คืออุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสัมผัสและรับรู้สิ่งต่าง ๆ เช่น เครื่องอ่านบัตร คีย์บอร์ด เมาส์ สแกนเนอร์ และอุปกรณ์ Output ก็ได้แก่พวก เครื่องพิมพ์ จอภาพ
4. สื่อจัดเก็บข้อมูล (Stoจอภาพ หรือ monitor เป็นอุปกรณ์การแสดงผลที่สำคัญที่สุด จะเป็นส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้โดยตรง เพราะเราสามารถมองเห็นข้อมูลที่ที่แสดงผลได้โดยผ่านจอภาพของเรา จอภาพของคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือจอแบบซีอาร์ที และจอแบบแอลซีดี ซึ่งจอภาพ 2 แบบนี้มีลักษณะที่แตกต่างกันในเรื่องของรูปแบบ นั้นก็คือจอแบบซีอาร์ที (CRT) ส่วนใหญ่เป็นจอภาพที่นิยมใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มีขนาดใหญ่คล้ายโทรทัศน์ เมื่อก่อนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่เมื่อจอภาพแบบแอลซีดี (LCD) เข้ามาแทน จอภาพแบบซีอาร์ทีก็เริ่มมีน้อยลงจนในปัจจุบันนี้เราแทบไม่เห็นร้านขายคอมพิวเตอร์มีจอแบบนี้วางขายอีกแล้ว ส่วนจอภาพแบบแอลซีดีนั้นมีทั้งแบบที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและในแบบของโน๊ตบุ๊ค เนื่องจากเป็นจอภาพที่มีขนาดรูปร่างที่บางทำให้สะดวกสำหรับการพกพาไปไหนมาไหน แต่จอภาพแบบแอลซีดีนี้ก็มีราคาที่แพงกว่าจอภาพแบบซีอาร์ที
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น